วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กริช ( อาวุธและวัตถุมงคล ของชาวมาลายู )




กริช เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กริชนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง

คำว่า " กริช" ในภาษาไทย น่าจะถอดมาจาก "keris" ในภาษามลายู ซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" คำนี้ ผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่ง คือ งริช หรือ เงอะริช หมายถึง แทง ภาษาต่างๆ ในยุโรป ใช้ว่า kris ตามมลายู

เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความ เป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ของผู้เป็นเจ้าของหรือของตระกูลโดยเฉพาะการใช้กริช


เชื่อกันว่ากริชนั้น เริ่มมีใช้ในเกาะชวา แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในมาเลเซีย บรูไนฟิลิปปินส์ตอนใต้ กัมพูชา ภาคใต้ของไทย สิงคโปร์ และแม้กระทั่งเวียดนาม

 
ลักษณะ ตัวกริช หรีอส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว และคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น มีการใช้กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายากแถบมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย

กริช ความเป็นมาของกริชเป็นอย่างไร ไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากเรื่องราวในเทพนิยายและตำนานกริชนั้นจะเป็อาวุธประจำตัว และสืบทอดให้แก่คนในตระกูลสืบไป ทั้งยังมีคุณค่าในเชิงเป็นศิลปวัตถุที่เป็นมงคลและศักดิ์ศรีของผู้พกพา ใบกริชนั้นจะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ  ด้ามกริช มักจะทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายของชวา และไม่ขัดกับหลักทางศาสนาอิสลาม  

จากคำบอกเล่าของช่างทำกริชที่สืบต่อกันมาจนถึง อ.ตีพะลี อะตะบู ช่างทำกริชรุ่นที่ การเหน็บพกพากริชของชาวรามันนั้น เป็นการเหน็บกริชที่แตกต่างจากชนผู้ใช้ กริช ทั่วๆไป  ชาวรามัน จะนิยมเหน็บกริชไว้ด้านหน้าซ้าย โดยที่หัวกริชชี้ตรงกับหัวใจ ของผู้เป็นเจ้าของเชื่อกันว่าเป็นการผสาน (หลอมรวมจิตใจ) กันระหว่าง กริช  กับเจ้าของกริช ซึ่งการเหน็บกริช จะแตกต่างกับชาวไทยพุทธทางนคร สงขลา ที่เหน็บกริชทางด้านหลังแบบชาวชวา- มลายู และแต่เดิมนั้นชาวรามันไม่ใช่เมืองมุสลิมอย่างทุกวันนี้

พลทหารเมืองปัตตานีนุ่งผ้าถุงแล้วนุ่งผ้าตาหมากรุกแบบ ปูฌอปอตอง โพกผ้าที่ศีรษะ ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
ชาวรามันนับถือรับเอาคติของพราหมณ์ ฮินดูและพุทธมหายาน ตามลำดับ มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ  เพิ่งจะมา 500 ปี ให้หลังนี้เอง ที่การเข้ามาของศาสนาอิสลาม (เกิดรัฐปัตตานีดาลุซาลาม) ชาวบ้านจึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม รูปลักษณ์ของกริชที่รับมาจากอินเดีย จึงเปลี่ยนรูปร่างพัฒนาไปตามลำดับ โดยกริชบางแบบ เปลี่ยนไปสู่รูปทรงเลขาคณิต (หัวลูกไก่) ซึ่งไม่ขัดกับหลักศาสนาของโลกมุสลิมที่ไม่นับถือรูปเคารพครับ


มาตรฐานของฝักกริช (ตาญง) ขั้นพื้นฐาน
ฝักกริชตาญงเป็นกริชที่มีความหมายมากที่สุด คือ จะแบ่งสัดส่วนต่างๆ อย่างเช่น
1. หัวนกมือฆะ ซึ่งเป็นนกองครักษ์ของนกพังกะ
2. ใบโกศล (บูดี) และส่วนประกอบของขอบ ของใบ
3. แก้ม และส่วนเว้าต่างๆ
4. ตะปิ้ง และส่วนนูนต่างๆ
5. คาง หน้าผาก และก้น
6. ส่วนกลมมนของตัวฝักและก้นฝักเป็นก้นกะลา
7. ลวดลายตาศิวะ และลีลา





มาตรฐานของหัวกริช (ตาญง)
หัวกริชตาญงหรือหัวกริช (นกพังกะ) ของปัตตานี หัวกริชนกพังกะปัตตานีนั้นเป็นที่นิยมมาก  เพราะรูปทรงสวยงามมีดอกลายที่เด่นชัดกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งจะแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ แบบคอสั้นและแบบคอยาวแบบคอสั้นจะพบมากแถวๆ อำเภอรามัน ส่วนแบบคอยาวจะพบมากที่ปัตตานี แถวอำเภอสายบุรี และอำเภอยะรัง

การแบ่งลักษณะหัวกริชเป็น 3 ประเภท
ประเภทดือรอ (ดูแล้วน่าสงสาร น่าเอ็นดูมีลักษณะหน้าตาหงอยดูไม่ฉลาด มีดอกลายหยาบง่ายๆ
ประเภทบอตอกาลอ (ดูแล้วดุดันก้าวร้าวน่าเกรงกลัว )มีลักษณะหน้าตาดุ ตาโพล่ออกมาจากเบ้าตา อย่างชัดเจนตาโต หน้าเงยขึ้นเห็นคอล่างเด่นชัด มีดอกลายพอเหมาะ มีเขี้ยวยาว
ประเภทตามืองง (ดูแล้วน่าเกรงขาม มีราศีน่านับถือมีลักษณะนัยตามีแวว หน้าผากและหงอนมีหลายชั้นดอกลายหลายชั้น คมชัดสวยงาม

 
มาตรฐานของใบกริช 
ใบกริชตาญงเป็นกริชในตระกูลบันไดซาร๊ะห์ คือ จะมีรูปทรงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ อาเฆ็ง หรือ อาริง คือ โกร่ง ที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะของโกร่ง มีหางจิ้งจก ที่แบนและบานที่ปลาย  มีส่วนเว้าที่ขอบบน มีคางของจิ้งจกเห็นได้ชัดเจน และในส่วนของ ฆาดิด จะสั้นขึ้นให้เหมาะกับสัดส่วนของปีกฝัก จะมีทั้งกริชใบคด  และกริช ใบตรง (ใบปรือ) แต่จะมีกริชตรงเป็นส่วนใหญ่ เพราะใช้กับตัวฝักกริชตาญงสะดวก เจาะรูได้ง่ายกริชตาญง จะไม่นิยม ปามอ (ลวดลายบนตากริช) อะไรมากนัก น้ำหนักเบาและบาง มีเหลี่ยมเป็นกระดูกสันกลางกริช เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับตากริชได้ดีเป็น ตาญง ขั้นพื้นฐาน

ใบและฝัก
ตัวกริช หรีอส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว และคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิล ผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง

ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้นการใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็น ลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น

มีการใช้กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายาก แถบมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย ใบกริชนั้น จะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ

 
กริชสกุลช่าง ปัตตานี Keris เป็นอาวุธประเภทสั้นมีสองคมชนิดหนึ่ง ใบของกริชมีทั้งแบบตรงและคด ใช้ในการต่อ สู้ เชื่อว่า กริช เริ่มประดิษฐ์ขึ้นในสมัยอาณาจักรมัชปาหิต กำลังรุ่งเรือง แล้วแพร่หลายทั่วหมู่เกาะมาลายู และโลกมลายู ในตำนานเมืองเคดะห์  "ฮิกายัตมะโรงหรือตำนานมะโรงมหาวงศ์ได้ระบุพอสรุปได้ว่า ตอนที่ พระธิดาของ กษัตริย์มะโรง มหาโพธิสัตว์ แห่งเคดะห์ มาสร้างเมืองปัตตานั้น นอกจากมีช้างพัง แสนรู้ชื่อ "กมลาโยฮารีแล้ว ยังมีกริชศักดิ์สิทธิ์ชื่อ "เลลามาซานีอีกด้วย ถ้าวางกริชต่อหน้าแล้วจะทำให้ผู้คนที่อยู่รอบข้างไม่กล้าเงย ศรีษะ ในตำนานดังกล่าวยังระบุว่า แม้แต่การตั้งชื่อเมือง ปาตานี ก็สืบเนื่องมาจาก กริชเลลามาซานี นั้นเอง

 
กริชสกุลช่างปัตตานี เรียกว่า กริชตะยง หรือ กริชจอแต็ง รูปลักษณ์จองด้ามกริชมองดูผิวเผินด้ามกริช จะมีจมูกยาวแหลมคล้ายปากนก กระเต็น รูปลักษณ์ที่แท้จริง คือ ยักษ์ในตัววายัง หรือตัวหนังของชวา ที่เคยเข้ามามีอิทธิพลในศิลปกรรมท้องถิ่นของเมืองปัตตานีในอดีต กริชชนิดนี้มีใช้กัน ตั้งแต่พื้นที่ในจังหวัดสงขลาตอนใต้ลงไป แต่พบหนาแน่นมากที่สุด ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเรา

ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชสัมพันธ์ไมตรีอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก โดยมีการส่งคณะทูตไปมาหาสู่กัน หลายคณะทูตคนแรกของฝรั่งเศสที่มาไทยคือ เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์  และราชฑูตไทยคือ เจ้าพระยาโกษาปาน แต่ในสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศต่างมีความใน กล่าวคือ ไทยต้องการ คานอำนาจของ ฮอลันดา ที่กำลังเข้ามาแผ่อำนาจ ล่าอาณานิคมเข้ามาใกล้ จนเป็นภัยคุกคาม ส่วนทางฝรั่งเศสเอง พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ต้องการที่จะเปลี่ยนศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์ ถ้าเปลี่ยนได้ก็จะเป็นการกระเดื่อง พระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้นเอง

มีเรื่องเล่าที่ทางฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ในคราที่เจ้าพระยาโกษาปาน ไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสว่า
 
 เราแสดงหนังเหนียวต่อหน้าคณะฑูตพระเจ้าหลุยส์ 14มาแล้ว
 

ในพงศาวดารมีเรื่องเล่าน่าสนใจเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการไปเยือนของกลุ่มราชทูตไทยว่า ชาวฝรั่งเศสเคยได้ยินว่า คนไทยอยู่ยงคงกระพัน ฟัน แทง ยิง ไม่เข้า จึงขอ "ลองของแล้วกลุ่มราชทูตไทย ก็จัดให้ ในวัน "ลองของ" ต่อหน้าคณะผู้ปกครอง หลังจากทำการบวงสรวงตั่งศาลเพียงตาของคนไทย ทางฝรั่งเศสได้ให้กลุ่มผู้ติดตามราชทูตเจ้าพระยาโกษาปาน นั่งกลางพิธี แล้วทหารฝรั่งเศสยืนเรียงหน้ากระดาน หลายสิบนาย แต่ละคนอยู่ในท่าเตรียมยิงปืน เล็งไปที่ทหารไทยกลุ่มนั้น พอได้สัญญาณ ก็จึงยิงออกไปคนละหนึ่งนัด เรื่องน่าแปลกก็คือ "ปืนด้านทุกกระบอก" จากนั้นทหารฝรังเศสจึงขอลองอีก โดยยิงออกไปอีกคนละหนึ่งนัด   "ครั้งนี้ยิงออก" แต่ลูกปืนที่ยิงออกไปนั้นตกแค่ตีนเสื่อ ที่กลุ่มคณะทูตไทยนั่งเท่านั้น เรื่องนี้ฝรั่งเขาบันทึกเอาไว้ 

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  เจ้าเหนือหัว มักพระราชทานกริช แก่ข้าหลวงที่ทำความดีความชอบ ในราชสำนักอยุธยา หรือในโอกาศสำคัญๆ และยังนิยมพกพา หรือเหน็บกริชกัน ดังที่มีหลักฐานจากที่ฝรั่งเศสบันทึกไว้ในคราวที่  เจ้าพระยาโกษาธิบดีปาน  ราชทูตที่สมเด็จพระนารายณ์ ส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เจ้าพระยาโกษาธิบดี ก็เหน็บกริชชวาเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ด้วย


จ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ครั้งเป็นออกพระวิสุทธสุนทรราชทูต (ภาพวาดฝีมือชาวอังกฤษวาดเมื่อ พ.ศ. 2227)
 
ภาพนี้เขียนโดยชาวฝรั่งเศสบันทึกเหตการณ์ในวันที่ชาวไทยได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส  จากภาพค่อนข้างชัดเจนว่า เจ้าพระยาโกษาธิปดีเหน็บกริชชวาอย่างแน่แท้ เล่ากันว่าภาษาที่ใช้ในราชการของราชสำนักอยุธยาคือภาษาไทย ส่วนภาษาที่2 ที่นิยมใช้กันคือ ภาษามลายู  ฝรั่งฮอลันดาหรือวิลาศโปรตุเกศ ที่เข้ามาค้าขายก็สามารถใช้ภาษามลายู ได้เช่นกัน พระราชวงศ์ส่วนใหญ่ สามารถพูดภาษามลายู ในหลวงของเรา และพระราชวงศ์หลายพระองค์ก็สามารถใช้ภาษามลายูได้

การค้าขายกับทาง ชวา มลายู ทางใต้มีความสำคัญมาก  เนื่องด้วยมีเมืองท่าสำคัญๆของเราตั้งเรียงราย  อยู่เป็นลำดับ นำภาษีอากร ส่งเข้าท้องพระคลังหลวง มากมายมาตั้งแต่โบราณ

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บ้านเสนาใหญ่ ขุนพิทักษ์บริหาร



สมัยรัชกาลที่ 5 ขุนพิทักษ์บริหาร (พึ่ง มิลินทวนิช) เป็นนายแขวงเสนาใหญ่ คืออำเภอผักไห่ในปัจจุบัน (เคย เข้ารับใช้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้วย)   ภรรยาคือนางจ่าง มิลินทวนิช ขุนพิทักษ์ฯเป็นเจ้าของกิจการเรือสองชั้นที่เรียกว่าเรือเขียว ซึ่งเป็นเรือโดยสารขนาดใหญ่ (มีจำนวน 10 กว่าลำ) รับส่งผู้โดยสารระหว่างผักไห่-ท่าเตียน กรุงเทพฯ และ ผักไห่-ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้การค้าขายบริเวณนี้ เจริญรุ่งเรือง (เมื่อมีการทำประตูทดน้ำในแม่น้ำเรือจึงไม่สามารถแล่นได้ ประกอบกับถนนหนทางเจริญขึ้นกิจการเดินเรือจึงเลิกไป) ตระกูลขุนพิทักษ์ฯเป็นตระกูลใหญ่  
 
 
ขุนพิทักษ์ฯมีบุตรทั้งหมด 6 คน มีหลานอีกหลายคน บุตรคนโตคือนางทองคำ มิลินทวนิช (นางทองคำมีบุตร 3 คน คือคุณใหญ่ คุณกลางหรือยายอุดมวรรณ และคุณจิ๋ว หรือยายสมพร) บุตรคนที่ 2 คือนางบุญมี คนที่ 3 คือนายโกย  4 คือหลวงมิลินทวนิช  5 นางวงศ์ ซึ่งเป็นภรรยาของหลวงพร้อม ธีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  และคนที่ 6 นางยูร คุณยายสมพร มิลินทวนิช อายุ 78 ปี และคุณยายอุดมวรรณ มิลินทวนิช อายุ 80 ปี  สองพี่น้องซึ่งเป็นหลานสาว(หลานตา)ของขุนพิทักษ์ฯ แต่ใช้นามสกุลของตา (เป็นบุตรนายเติมกับนางทองคำ โดยนางทองคำเป็นลูกสาวคนโตของขุนพิทักษ์) ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 563 ซอยลาดพร้าว 130 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ เล่าว่าขุนพิทักษ์ฯเกิดที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา  ส่วนภรรยา (นางจ่าง)เป็นคนอำเภอผักไห่   สมัยตนเป็นเด็กบ้านของตนเป็นแพอยู่ริมน้ำหน้าบ้านขุนพิทักษ์ฯ ตนผูกพันกับบ้านหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก วิ่งขึ้นลงคลุกคลีกับคนในบ้านมาตลอด  หลังจากยกให้หลวงแล้วตนกลับมาดูบ้านหลังนี้ทุกปี เนื่องจากมีที่นาและญาติพี่น้องอยู่ที่อยุธยา แต่หลายปีหลังนี่ไม่ได้มา

บ้านของขุนพิทักษ์บริหารเป็นบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 อายุเกินกว่า 100 ปี สถาปัตยกรรมเป็นบ้านไทยที่ได้รับอิทธิพลทางตะวันตก ซึ่งน่าสนใจมาก  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย (ด้านหลังติดกับถนนในหมู่บ้าน ) หมู่ที่ 2 ตำบลอมฤต อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เดินทางจากตัวอำเภอผักไห่ไปทางทิศเหนือตามถนนลาดยาง เพียง 3 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าไปในบริเวณวัดอมฤต แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านโรงสีเข้าไป)

บริเวณที่ตั้ง
มีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ 72 ตารางวา ด้านหลังบ้านที่ติดกับถนนปักป้ายประกาศว่าเป็นที่ดินราชพัสดุของ กรมธนารักษ์ ลักษณะบ้านเป็นบ้านทรงปั้นหยาสองชั้นยกพื้นสูง ปลูกสร้างด้วยไม้สัก (บางส่วนเป็นตึก) ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า"บ้านเขียว" (เพราะเดิมทาสีเขียว เนื่องจากขุนพิทักษ์ เกิดวันพุธ) หลังคามุงกระเบื้องสีน้ำตาลเข้ม สภาพภายในยังแข็งแรง แต่สภาพภายนอกทรุดโทรม ประตูหน้าต่างมีลวดลายแกะสลักอย่างประณีตบรรจง พื้นเป็นกระดานไม้สักแผ่นใหญ่ ชั้นล่างมีห้องโถงใหญ่ 1 ห้อง (มีตู้ไม้สัก 3 หลัง) ห้องเล็ก 2 ห้อง (ในห้องเล็กใกล้ระเบียงหลังบ้าน มีตู้เหล็กนิรภัย สูงถึง 1 เมตร ปิดล็อกไว้) และห้องใต้บันไดอีก 1 ห้อง ส่วนชั้นบนมีห้องโถง 1 ห้อง ห้องเล็ก 3 ห้อง และห้องซอยด้านหลังอีก 1 ห้อง ในห้องเล็กที่ใกล้กับทางลงมีห้องแยกออกไปอีก เป็นห้องที่ใช้ประตูเดียวกับห้องแรก ภายในห้องแยกมีห่วงเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก 1 นิ้วตรึงอยู่กับพื้นมุมห้อง ใช้สำหรับล็อกโซ่ล่ามกำปั่นสมบัติ (ปัจจุบันยังสามารถหาดูห่วงเหล็กลักษณะนี้ได้ในเรือนเก่าหลังอื่น ๆเช่นเรือนหลังกลางของนายแป้น สุดสนอง เลขที่ 23 หมู่ที่ 5 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่) หน้าต่างและประตูใช้กลอนไม้แบบโบราณ ด้านหน้ามีสะพานไม้เชื่อมไปที่ศาลาใหญ่ริมแม่น้ำ และเรือนพักคนรับใช้หลังเล็ก (นายฟื้น ผู้ดูแลบ้านคนสุดท้ายมีอาชีพทำขนมจีนขาย ได้เสียชีวิตที่เรือนหลังเล็กนี้ หลังจากนายฟื้นเสียชีวิต นางวาสน์ซึ่งเป็นภรรยานายฟื้นและเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ได้ย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา และไม่มีใครพบอีกเลย ส่วนเรือนหลังใหญ่ไม่ปรากฏว่า เคยมีผู้เสียชีวิตในเรือน แม้แต่ขุนพิทักษ์ฯเมื่อชราภาพใกล้สิ้นอายุขัย ได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯระยะหนึ่ง จึงเดินทางกลับบ้านทางเรือ และสิ้นชีวิตในเรือระหว่างเดินทาง)

 
หลังจากขุนพิทักษ์ฯสิ้นชีวิตแล้ว ลูกหลานย้ายไปอยู่ภูมิลำเนาอื่น ส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ   แม่จ่าง ภรรยาท่านขุนจึงได้ยกบ้านให้หลวง เป็นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ เมื่อ พ.ศ. 2505 โดยกระทรวงมหาดไทยได้มอบเข็มชั้นเครื่องหมายทองประดับเพชรให้กับนางจ่างด้วย นายเม่งชง แซ่โต๋ว อายุ 82 ปี เจ้าของร้านชงโภชนา ตลาดผักไห่ เล่าว่า สมัยที่ตนอายุ 10 ขวบ เคยพายเรือผ่านไปขายของ บ้านหลังนี้มีบริวารอาศัยอยู่มาก ในงานวันเกิดของแม่จ่าง ภรรยาขุนพิทักษ์ จะมีภรรยาของท่านจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เดินทางมาร่วมงานทุกปี

 
 ร.ดนัย มิลินทวนิช ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของขุนพิทักษ์ เล่าว่ามีบันทึกในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ในการเสด็จประพาสต้นลำน้ำคลองมะขามเฒ่า ได้กล่าวถึงช่วงหนึ่งว่าพระองค์ทรงเสด็จประพาสมาตามลำแม่น้ำน้อยนี้ และได้ทรงประทับที่บ้านของนางจ่าง มิลินทวนิช ซึ่งก็คือภรรยาของขุนพิทักษ์ฯนายชัยกร นิยมไกร ชาวบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านขุนพิทักษ์ฯ กล่าวว่าบิดาของตนเคยเล่าให้ฟังว่าขุนพิทักษ์เป็นคนยิ่งใหญ่พอสมควร สมัยที่ขุนพิทักษ์ฯมีชีวิตอยู่ ได้จัดทอดกฐินและแข่งเรืออย่างใหญ่โตทุกปี ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 (วันงานไหว้วัดอมฤต)ห่างจากบ้านขุนพิทักษ์ประมาณ 1 กิโลเมตร มี "บ้านตึก" ซึ่งเป็นบ้านโบราณอยู่ริมแม่น้ำน้อยเช่นกัน อีก 1 หลัง ซึ่งเป็นบ้านของขุนวารีโยธารักษ์ นายอำเภอคนแรกของอำเภอผักไห่ (สมัยนั้นเรียกว่าอำเภอเสนาใหญ่)   สมัยรัชกาลที่ 5 เคยใช้เป็นที่ว่าการอำเภอเสนาใหญ่ และออกว่าความตัดสินคดี มีการจองจำนักโทษที่เรือนด้านหลัง (รื้อถอนไปแล้ว)   เรือนใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านตึกนี้ เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง ในเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา หลังคาทรงปั้นหยา มีลวดลายแกะสลักสวยงาม ชั้นล่างมีการก่ออิฐล้อมเป็นผนังแบ่งเป็นช่อง ๆ คล้ายกำแพง ปัจจุบันบ้านตึกอยู่ในที่ดินโฉนดของนางย้อย วิภาตะศิลปิน บุตรของขุนวารีโยธารักษ์

 
ปัจจุบันบ้านขุนพิทักษ์บริหาร เป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป สื่อมวลชนหลายแขนงได้เผยแพร่ข่าว เช่นรายการที่นี่ประเทศไทย ทางโทรทัศน์ช่อง 5   แต่ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์และรายการมิติลี้ลับทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ออกข่าวว่าบ้านหลังนี้มีวิญญาณ มีภูติผีปีศาจ นั้น ผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับญาติพี่น้องขุนพิทักษ์ฯไม่เชื่อว่าบ้านหลังนี้จะมีภูติผีปีศาจ เพราะไม่ปรากฏว่าเคยมีผู้เสียชีวิตในเรือนท่านขุน และท่านขุนเป็นคนใจดี ไม่มีศัตรู ทอดกฐินทุกปี ทำประโยชน์เอาไว้มาก

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปกหนังสือเก่า ลำ ตัด สมัยก่อน


 
มารู้จัก หนังสือ ลำตัด กันครับ 

ลำตัดเริ่มต้นครั้งแรกในสมัย รัชกาลที่ ๕ มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๖-๗ มีการนิยมเขียนลำตัดลงใน หนังสือพิมพ์ และเขียนลงเป็นเล่มออกจำหน่ายกันมากมาย โดยส่วนใหญ่หนังสือลำตัด  ราคาจำหน่ายเพียงเล่มละ ๑๐ - ๑๕ สตางค์ หน้าปกมีทั้งพิมพ์สอดสีและพิมพ์สีเดียว  เนื้อเรื่องในเล่มมักจะเขียนเรื่องราวข่าวอาชญากรรมที่กำลังโด่งดังในขณะนั้น  เช่น ข่าวจำพวกลักขโมย ปล้นทรัพย์ , ข่าวคนฆ่ากัน,ข่าวโจรหรือคนร้ายที่โด่งดังถูกจับกุม  ลำตัดเป็นการร้องตอบโต้กันด้วยโวหาร ต่างจากลิเก ที่เล่นกันเป็นเรื่องราว นักแต่งลำตัดที่มีชื่อเสียงก็เช่น "หะยีเขียด หรือ หะยีวงศ์อินทร์ " ,"พลายนรินทร์" , "บังสะโอด", "พลายบัว" เป็นต้น
 

ลำตัด" อ้ายเสือใบ จอมโจร หลายจังหวัด" พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ 2472 



ลำตัด " อ้ายเสือผล จอมโจร " พิมพ์ครั้งที่ 8 เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ 2473 

 

 ลำตัด " นางกิมไล้ หญิงใจเพ็ชร์ ที่เอาหอกตอกหน้าผัวถึงตาย " พิมพ์ ครั้งที่ 4 เมื่อ สิงหาคม พ.ศ 2472 


 
 
ลำตัด "อ้ายเสือย้อยใจยักษ์" กำลัง แผลงฤทธิ์ เขษมพานิช ผู้พิมพ์ 1 เมษายน พ.ศ 2470 

 
ลำตัด "ฆ่าชายชู้" นางสาว กิมลี้ ที่ยิงคู่รักตาย พิมพ์ครั้งที่ 3 เมื่อ มีนาคม พ.ศ 2472 

 
ลำตัด "ฆาฏกรรมชิงนาง" ตำรวจฆ่าตำรวจกลางพระนคร  เขษม พานิช ผู้พิมพ์ เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ 2470 
 
ลำตัด "อีนากพระโขนง" กับ "พลายนรินทร์โสกา" ( หะยีเขียด เขียนด่า พลายนรินทร์ นักเขียนลำตัดอีกท่านนึง)  เขษมพานิช ผู้พิมพ์ เมื่อ มกราคม พ.ศ 2472 

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาพเก่า " เมืองหลวงพระบาง " ประเทศลาว

 
ภาพเก่า บ้านพี่เมืองน้องเรา " เมืองหลวงพระบาง " ประเทศลาว
 
 
 ชุดเจ้านาง เจ้าหญิงองค์น้อย   เมืองหลวงพระบาง
 
 
เชื้อพระวงศ์เมืองหลวงพระบาง
 
ชาวบ้าน หลวงพระบาง
 
โปสการ์ดภาพเมืองหลวงพระบาง สมัยนั้น
 
วัดเเห่งหนึ่งในเมืองหลวงพระบาง
 
เเม่ค้าในตลาด
 
ลงข่วง ชาวลาว หลวงพระบาง
 
ชาวไทลื้อ เมืองอู
 
ชาวลื้อ ในลาว
 
สาวไทลื้อ ใส่เสื้อปั๊ด นุ่งซิ่นทับตับเเป๋น
 
ชาวผู้ไท เมืองน้ำดำ กาฬสินธุ์
 
ชาวไทพวน เมืองหมากเเข้ง อุดรธานี
 
ชาวไทเหนือ เมืองซำเหนือ ประเทศลาว
 
ไทเหนือ ฉายา ซิ่นยาวเหลือเสื้อบ่พอ
ไทดำ เมืองแถง
 
ชาวขมุ ในลาว เเต่งกายคล้ายลื้อ
 
สตรีชั้นสูง เมืองนครพนม
 
 
การลงข่วงผีฟ้า ของชาวร้อยเอ็ด
 
 
เเห่เทียน เมืองอุบลราชธานี
 
เจ้าเมืองเขมราษฏ์ อุบลราชธานี
 
ฟ้อนกลองตุ้ม เมืองอุบล
เผ่าโส้
สาวเมืองหลวงพระบาง