วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ

ภาพหอหลวงเชียงตุง 

สิบสองปันนา นั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดย พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 การอ่อนแอของอาณาจักรสิบสองปันนาในราชวงค์อาฬโวสวนตาล เริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

อาณาจักรสิบสองปันนาจึงต้องยอมอ่อนน้อม....ส่งเครื่องบรรณาการให้กับทั้ง 3 ฝ่าย คือพระเจ้ากรุงจีน เจ้ากรุงศรีอยุธยา(อันหมายถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)และเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า ....สิบสองปันนาในยามนั้น จึงถูกเรียกว่า " เมืองสามฝ่ายฟ้า" คือต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของเมืองที่แข็งแกร่งกว่าถึง 3 อาณาจักรในเวลาเดียวกัน

ในสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น หลังจากที่พระองค์ได้ส่งกองทัพมาปลดปล่อยเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนาจากพม่าแล้ว ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่าและกวาดต้อนชาวไทยขึนจากเชียงตุง ชาวไทยใหญ่ จากเมืองฉานในพม่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และน่าน เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกยุคนั้นว่า " ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง " อันเป็นการฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะเนื่องจากพม่าช่วงที่มายึดครองเชียงใหม่ ก็ได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่พุกามและมัณฑเลย์จำนวนมาก 

สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่ง 1 (พญาเจื๋อง) เป็นปฐมกษัตริย์ของชาวไทลื้อ แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาล จนถึงสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 41 เจ้าหม่อมคำลือ  (ตาวซินซือ) ก่อนสิ้นสุดลงเพราะรัฐบาลจีนได้ถอดถอนท่านออกจากการเป็นเจ้าแผ่นดิน ยุบเลิกระบบการปกครองเดิมของสิบสองปันนา ส่วนพระอนุชาได้ลี้ภัย มาอยู่ที่อำเภอแม่สาย หม่อมตาลคำ ได้ลี้ภัยมาอยู่กรุงเทพ

 
กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ

เจ้าหม่อมคำลือ เป็นราชบุตรของเจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ แต่พระองค์ท่านเองไม่มีบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรบุญธรรม เจ้าหม่อมคำลือเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1928 และไปเรียนหนังสือที่เมืองฉงชิ่งเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945)

พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ ท่านจึงได้กลับไปเรียนหนังสือ และกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตาม ช่วงนั้นได้เกิดการ เปลี่ยน แปลง  การปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน

 

จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลจีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อย ใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วยและหลังจาก เติ้ง เสี่ยวผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาดในปัจจุบัน ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือ และภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง

โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติ ในมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน จนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์” อย่าง ไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้วทางการจีนได้ให้ฐานะทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธาน สภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมี ที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว โดยคนที่มีแซ่เต๋า ในสิบสองปันนาก็คือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้

เจ้าหม่อมคำลือ เสด็จสวรรคต  อดีตกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรเชียงรุ่ง สิบสองพันนา     มณฑลยูนนาน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560  พระชันษา 89 ปี อดีตกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรเชียงรุ่ง สิบสองพันนา ที่ถูกผนวกเข้าไปเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา 02.00น.ของวันที่ ตุลาคม พ.ศ.2560 ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน


                






 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น