วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่

 




.....ฉัน พบ กับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่
ตอนอายุยี่สิบสองปีเท่ากัน
แต่ฉันแก่กว่าเจ้านนท์สิบกว่าวัน

เจ้าแว่นแก้ว พี่สาวของฉัน
มีคนมาสู่ขอเมื่ออายุสิบหก
เลยถูกเจ้าพ่อบังคับให้แต่งงาน
นั่งร้องไห้ร้องห่ม
ไม่มีโอกาสได้รู้จักกับชาย คนอื่นเลย
ต้องโดนจับคลุมถุงชนตั้งแต่เด็ก

ฉันเอง ไม่เคยรู้จักเจ้านนท์มาก่อน
แต่ตอนนั้นจะมีนักสืบ หรือ แม่สื่อ
เป็นคนสืบให้ว่าคนที่มาสู่ขอนั้นมีประวัติ
นิสัยใจคอเป็นอย่างไร
หลังจากหมั้นได้แปดเดือน ก็ แต่งงาน

.....วันพิธีแต่งงานมีเรียกขวัญ ผูกข้อมือ
เจ้าพ่อท่านส่งจดหมายไปเชิญเจ้าเมืองต่างๆ
มาร่วมงานด้วยแต่การเดินทางสมัยนั้น
ยังลำบากอยู่ และไม่ใช่งานแต่ง
ของเจ้าฟ้าคนสำคัญอะไร
เขาเลยส่งของขวัญมาแทนงานหมั้น
ไม่มีพิธีหรอก
มีแต่เลี้ยงข้าว และ สวมแหวนเท่านั้นเอง

ส่วนพิธีแต่งงานมีสองวัน
วันแรกเป็นวันผูกข้อมือ
จะมีคนออกมาอ่านหนังสือกล่าวขวัญอวยพร
ให้กับเจ้าบ่าวเจ้าสาวเสร็จแล้ว
แขก ผู้ใหญ่จะเอาด้ายผูกข้อมือ
ใครที่เตรียมของขวัญมา
ก็ให้คู่บ่าวสาวในตอนนั้น

วันต่อมาเป็นวันดำหัว
เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องยืนบนแท่นสูง
เพื่อให้แขกพรมน้ำอวยพร
ฉันจำได้แม่นว่า
วันนั้นเจ้านนท์ใส่เสื้อครุยยาว
ที่เรียกกันว่าเสื้อคำ ซึ่งเป็นเสื้อเฉพาะ
ของเจ้าฟ้าเชียงตง
ที่ได้รับพระราชทานจากกษัตริย์อังวะ
และสวมชฎา

ทีแรกท่านสวมชฎาแต่บอกว่าเจ็บ
ตอนหลังทนไม่ไหว
เลยต้องถอดออกแล้วใช้ผ้าเคียนหัว
แบบธรรมดาแทน
หลังจากที่คู่สมรสกล่าวเสร็จ
จึงจะดำหัวเจ้าบ่าวเจ้าสาว
จากนั้นจะมีการแห่คู่บ่าวสาวหนึ่งรอบ
ก่อนเสร็จพิธี
ถ้าเป็นสมัยก่อนนั้นไปอีก
คู่บ่าวสาวต้องนั่งแห่ไปบนหลังช้าง
แต่พอมาถึงสมัยฉัน
เจ้าสาวกลับนั่งแห่ไปบนรถยนต์
ประดับประดาด้วยดอกไม้
ฉันต้องนั่งรถจากตำหนักเจ้าพรหมลือ
เพื่อไปรับเจ้าบ่าวที่ศาลากลาง

แล้วเจ้าบ่าวจะขี่ข้าง
ตามเจ้าสาวไปที่บ้านฉัน
ถ้าเป็นงานแต่งระดับเจ้าผู้ครองนคร
ต้องมีการเลี้ยงอาหารฝรั่ง
เนื่องจากในเชียงตุง
มีฝรั่งมาพักอยู่มากเหมือนกัน
หลังจากแต่งงานได้สิบกว่าวัน
ก็เดินทางมาเชียงใหม่เลย

.... พอแต่งงานแล้วฉันก็มาอยู่ที่คุ้มใหญ่
ของเจ้าหลวง (เจ้าแก้วนวรัฐ)
แถวตลาดเจ๊กโอ่ว
ท่านทำบ้านไว้หลังหนึ่งให้ลูกสาวคน
โตอยู่ ส่วนอีกหลังหนึ่งให้พวกลูกสะใภ้อยู่
อยู่ที่นั้นได้สักพักนึง
จนลูกคนที่สามอายุได้สองเดือนกว่า
เจ้าหลวงก็สิ้นพระชมน์
หลังจากนั้นพี่สาวคน โตของเจ้าหลวง
ต้องการคุ้มใหญ่คืน

ฉัน กับ เจ้านนท์ และ ลูกๆ
ก็เลยย้ายมาอยู่ที่ เจดีย์เวียง
อยู่ได้ปีหนึ่ง ก็มาซื้อบ้านหลังนี้
คุ้มนั้นต่อมาก็ได้ถูกขายไป
เมื่อก่อนที่ดินยังราคาถูกมาก
จำได้ว่าซื้อบ้านหลังนี้(คุ้ม อ.สันป่าตอง)
พร้อมที่ดินอีกท้าไร่ ในราคา สองพันบาท

.....ตอนที่เห็นหน้าเจ้านนท์ครั้งแรก
ฉันก็รู้สึกเฉยๆ แต่พอแต่งงานไปแล้ว
ถึงได้รู้ว่า ท่านเป็นคนดี ไม่เจ้าชู้
ผู้หญิงเรา มีเรื่องสบายใจอยู่อย่างเดียวเท่านั้น
คือ ถ้าสามีเราไม่เจ้าชู้ก็ดี
ฉันว่ามันเป็นกรรมเวร
เพราะ ไม่มีใครได้เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน
แต่ต้องมา อยู่ร่วมกัน

เรื่องเล่าจากความทรงจำของ
เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่

 


เจ้าพงษ์แก้ว ณ ลำพูน

 




เจ้าพงษ์แก้ว ณ ลำพูน
ได้ให้ชายพีรดิศ น้องชายข้าพเจ้า
มาบอกว่า เธอจะทำศพเจ้าพัฒนา สามีของเธอ
และ อยากให้หนังสือที่ข้าพเจ้าเขียน
ส่งไปทันงานศพนั้น
... ข้าพเจ้ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะมีส่วนช่วยในงานนี้ เพราะเรารู้สึกว่า
เป็นญาติพี่น้องสนิทกันมาหลายชั้น
เสด็จพ่อ(กรมพระยาดำรงฯ)
ทรงสอนให้ข้าพเจ้าเรียก
เจ้าหลวงลำพูน(เจ้าจักรคำ) ว่า " เจ้าพี่ "
มาแต่เล็ก ๆ

ข้าพเจ้าจึงเรียกเจ้าพี่จักรคำ
มาโดยตลอด  และแม่เจ้าส่วนบุญ
ข้าพเจ้าก็รู้จักคุ้นเคยกันมามาก
ฉนั้นข้าพเจ้าจึงมีศักดิ์เป็น “เจ้าอา”
ของเจ้าพัฒนา ผู้ตาย และเจ้าพงษ์แก้วผู้อยู่
ทั้ง 2 คน ส่วนหนูนิด ดารารัตน์
เรียกข้าพเจ้าว่า “ ท่านย่า “

 พูนพิศมัย ดิศกุล (หม่อมเจ้าหญิง)
พระธิดา ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน มีสกุลเดิมว่า ณ เชียงใหม่ เกิดเมือวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2469 เป็นธิดาของพลตรี เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) เจ้าราชบุตรองค์สุดท้ายแห่งจังหวัดเชียงใหม่ กับเจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม: ณ ลำพูน) มีน้องสาวร่วมบิดามารดา คือ เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล และมีพี่สาวต่างมารดาคือ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี นอกจากนี้  เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ยัง เป็นพระนัดดาของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย  เจ้าพงศ์แก้ว สมรสกับเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน โอรสในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนคนสุดท้าย มีบุตรสี่คน เป็นชายสามและหญิงหนึ่งคน ได้แก่

         คุณ เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน

         เจ้าพัฒนพงศ์ ณ ลำพูน สมรสกับศรัณยา ณ ลำพูน

         เจ้าวงศ์จักร ณ ลำพูน สมรสกับสุวรีย์ ณ ลำพูน

         เจ้าศักดิ์ขจร ณ ลำพูน สมรสกับวันเพ็ญ ศักดาธร


คุณ เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน “ (ทุติยะจุลจอมเกล้า) หากท่านสมรส จึงจะมีสรรพนามนำหน้า
ว่า “ คุณหญิง “ แต่ท่านครองตนมิได้สมรส
จึงมีคำนำหน้าว่า “ คุณ “

คุณ เจ้าดารารัตน์ “ คุณหญิงเจ้า “ เพียงท่านเดียวในล้านนา ณ เวลานี้ ที่ยังดำรงชีพอยู่

บันทึก หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
ในหนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ
เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน “
โอรสใน พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงลำพูน