วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กริช ( อาวุธและวัตถุมงคล ของชาวมาลายู )




กริช เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กริชนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง

คำว่า " กริช" ในภาษาไทย น่าจะถอดมาจาก "keris" ในภาษามลายู ซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" คำนี้ ผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่ง คือ งริช หรือ เงอะริช หมายถึง แทง ภาษาต่างๆ ในยุโรป ใช้ว่า kris ตามมลายู

เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความ เป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ของผู้เป็นเจ้าของหรือของตระกูลโดยเฉพาะการใช้กริช


เชื่อกันว่ากริชนั้น เริ่มมีใช้ในเกาะชวา แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในมาเลเซีย บรูไนฟิลิปปินส์ตอนใต้ กัมพูชา ภาคใต้ของไทย สิงคโปร์ และแม้กระทั่งเวียดนาม

 
ลักษณะ ตัวกริช หรีอส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว และคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น มีการใช้กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายากแถบมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย

กริช ความเป็นมาของกริชเป็นอย่างไร ไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากเรื่องราวในเทพนิยายและตำนานกริชนั้นจะเป็อาวุธประจำตัว และสืบทอดให้แก่คนในตระกูลสืบไป ทั้งยังมีคุณค่าในเชิงเป็นศิลปวัตถุที่เป็นมงคลและศักดิ์ศรีของผู้พกพา ใบกริชนั้นจะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ  ด้ามกริช มักจะทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายของชวา และไม่ขัดกับหลักทางศาสนาอิสลาม  

จากคำบอกเล่าของช่างทำกริชที่สืบต่อกันมาจนถึง อ.ตีพะลี อะตะบู ช่างทำกริชรุ่นที่ การเหน็บพกพากริชของชาวรามันนั้น เป็นการเหน็บกริชที่แตกต่างจากชนผู้ใช้ กริช ทั่วๆไป  ชาวรามัน จะนิยมเหน็บกริชไว้ด้านหน้าซ้าย โดยที่หัวกริชชี้ตรงกับหัวใจ ของผู้เป็นเจ้าของเชื่อกันว่าเป็นการผสาน (หลอมรวมจิตใจ) กันระหว่าง กริช  กับเจ้าของกริช ซึ่งการเหน็บกริช จะแตกต่างกับชาวไทยพุทธทางนคร สงขลา ที่เหน็บกริชทางด้านหลังแบบชาวชวา- มลายู และแต่เดิมนั้นชาวรามันไม่ใช่เมืองมุสลิมอย่างทุกวันนี้

พลทหารเมืองปัตตานีนุ่งผ้าถุงแล้วนุ่งผ้าตาหมากรุกแบบ ปูฌอปอตอง โพกผ้าที่ศีรษะ ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
ชาวรามันนับถือรับเอาคติของพราหมณ์ ฮินดูและพุทธมหายาน ตามลำดับ มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ  เพิ่งจะมา 500 ปี ให้หลังนี้เอง ที่การเข้ามาของศาสนาอิสลาม (เกิดรัฐปัตตานีดาลุซาลาม) ชาวบ้านจึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม รูปลักษณ์ของกริชที่รับมาจากอินเดีย จึงเปลี่ยนรูปร่างพัฒนาไปตามลำดับ โดยกริชบางแบบ เปลี่ยนไปสู่รูปทรงเลขาคณิต (หัวลูกไก่) ซึ่งไม่ขัดกับหลักศาสนาของโลกมุสลิมที่ไม่นับถือรูปเคารพครับ


มาตรฐานของฝักกริช (ตาญง) ขั้นพื้นฐาน
ฝักกริชตาญงเป็นกริชที่มีความหมายมากที่สุด คือ จะแบ่งสัดส่วนต่างๆ อย่างเช่น
1. หัวนกมือฆะ ซึ่งเป็นนกองครักษ์ของนกพังกะ
2. ใบโกศล (บูดี) และส่วนประกอบของขอบ ของใบ
3. แก้ม และส่วนเว้าต่างๆ
4. ตะปิ้ง และส่วนนูนต่างๆ
5. คาง หน้าผาก และก้น
6. ส่วนกลมมนของตัวฝักและก้นฝักเป็นก้นกะลา
7. ลวดลายตาศิวะ และลีลา





มาตรฐานของหัวกริช (ตาญง)
หัวกริชตาญงหรือหัวกริช (นกพังกะ) ของปัตตานี หัวกริชนกพังกะปัตตานีนั้นเป็นที่นิยมมาก  เพราะรูปทรงสวยงามมีดอกลายที่เด่นชัดกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งจะแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ แบบคอสั้นและแบบคอยาวแบบคอสั้นจะพบมากแถวๆ อำเภอรามัน ส่วนแบบคอยาวจะพบมากที่ปัตตานี แถวอำเภอสายบุรี และอำเภอยะรัง

การแบ่งลักษณะหัวกริชเป็น 3 ประเภท
ประเภทดือรอ (ดูแล้วน่าสงสาร น่าเอ็นดูมีลักษณะหน้าตาหงอยดูไม่ฉลาด มีดอกลายหยาบง่ายๆ
ประเภทบอตอกาลอ (ดูแล้วดุดันก้าวร้าวน่าเกรงกลัว )มีลักษณะหน้าตาดุ ตาโพล่ออกมาจากเบ้าตา อย่างชัดเจนตาโต หน้าเงยขึ้นเห็นคอล่างเด่นชัด มีดอกลายพอเหมาะ มีเขี้ยวยาว
ประเภทตามืองง (ดูแล้วน่าเกรงขาม มีราศีน่านับถือมีลักษณะนัยตามีแวว หน้าผากและหงอนมีหลายชั้นดอกลายหลายชั้น คมชัดสวยงาม

 
มาตรฐานของใบกริช 
ใบกริชตาญงเป็นกริชในตระกูลบันไดซาร๊ะห์ คือ จะมีรูปทรงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ อาเฆ็ง หรือ อาริง คือ โกร่ง ที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะของโกร่ง มีหางจิ้งจก ที่แบนและบานที่ปลาย  มีส่วนเว้าที่ขอบบน มีคางของจิ้งจกเห็นได้ชัดเจน และในส่วนของ ฆาดิด จะสั้นขึ้นให้เหมาะกับสัดส่วนของปีกฝัก จะมีทั้งกริชใบคด  และกริช ใบตรง (ใบปรือ) แต่จะมีกริชตรงเป็นส่วนใหญ่ เพราะใช้กับตัวฝักกริชตาญงสะดวก เจาะรูได้ง่ายกริชตาญง จะไม่นิยม ปามอ (ลวดลายบนตากริช) อะไรมากนัก น้ำหนักเบาและบาง มีเหลี่ยมเป็นกระดูกสันกลางกริช เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับตากริชได้ดีเป็น ตาญง ขั้นพื้นฐาน

ใบและฝัก
ตัวกริช หรีอส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว และคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิล ผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง

ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้นการใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็น ลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น

มีการใช้กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายาก แถบมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย ใบกริชนั้น จะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ

 
กริชสกุลช่าง ปัตตานี Keris เป็นอาวุธประเภทสั้นมีสองคมชนิดหนึ่ง ใบของกริชมีทั้งแบบตรงและคด ใช้ในการต่อ สู้ เชื่อว่า กริช เริ่มประดิษฐ์ขึ้นในสมัยอาณาจักรมัชปาหิต กำลังรุ่งเรือง แล้วแพร่หลายทั่วหมู่เกาะมาลายู และโลกมลายู ในตำนานเมืองเคดะห์  "ฮิกายัตมะโรงหรือตำนานมะโรงมหาวงศ์ได้ระบุพอสรุปได้ว่า ตอนที่ พระธิดาของ กษัตริย์มะโรง มหาโพธิสัตว์ แห่งเคดะห์ มาสร้างเมืองปัตตานั้น นอกจากมีช้างพัง แสนรู้ชื่อ "กมลาโยฮารีแล้ว ยังมีกริชศักดิ์สิทธิ์ชื่อ "เลลามาซานีอีกด้วย ถ้าวางกริชต่อหน้าแล้วจะทำให้ผู้คนที่อยู่รอบข้างไม่กล้าเงย ศรีษะ ในตำนานดังกล่าวยังระบุว่า แม้แต่การตั้งชื่อเมือง ปาตานี ก็สืบเนื่องมาจาก กริชเลลามาซานี นั้นเอง

 
กริชสกุลช่างปัตตานี เรียกว่า กริชตะยง หรือ กริชจอแต็ง รูปลักษณ์จองด้ามกริชมองดูผิวเผินด้ามกริช จะมีจมูกยาวแหลมคล้ายปากนก กระเต็น รูปลักษณ์ที่แท้จริง คือ ยักษ์ในตัววายัง หรือตัวหนังของชวา ที่เคยเข้ามามีอิทธิพลในศิลปกรรมท้องถิ่นของเมืองปัตตานีในอดีต กริชชนิดนี้มีใช้กัน ตั้งแต่พื้นที่ในจังหวัดสงขลาตอนใต้ลงไป แต่พบหนาแน่นมากที่สุด ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเรา

ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชสัมพันธ์ไมตรีอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก โดยมีการส่งคณะทูตไปมาหาสู่กัน หลายคณะทูตคนแรกของฝรั่งเศสที่มาไทยคือ เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์  และราชฑูตไทยคือ เจ้าพระยาโกษาปาน แต่ในสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศต่างมีความใน กล่าวคือ ไทยต้องการ คานอำนาจของ ฮอลันดา ที่กำลังเข้ามาแผ่อำนาจ ล่าอาณานิคมเข้ามาใกล้ จนเป็นภัยคุกคาม ส่วนทางฝรั่งเศสเอง พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ต้องการที่จะเปลี่ยนศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์ ถ้าเปลี่ยนได้ก็จะเป็นการกระเดื่อง พระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้นเอง

มีเรื่องเล่าที่ทางฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ในคราที่เจ้าพระยาโกษาปาน ไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสว่า
 
 เราแสดงหนังเหนียวต่อหน้าคณะฑูตพระเจ้าหลุยส์ 14มาแล้ว
 

ในพงศาวดารมีเรื่องเล่าน่าสนใจเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการไปเยือนของกลุ่มราชทูตไทยว่า ชาวฝรั่งเศสเคยได้ยินว่า คนไทยอยู่ยงคงกระพัน ฟัน แทง ยิง ไม่เข้า จึงขอ "ลองของแล้วกลุ่มราชทูตไทย ก็จัดให้ ในวัน "ลองของ" ต่อหน้าคณะผู้ปกครอง หลังจากทำการบวงสรวงตั่งศาลเพียงตาของคนไทย ทางฝรั่งเศสได้ให้กลุ่มผู้ติดตามราชทูตเจ้าพระยาโกษาปาน นั่งกลางพิธี แล้วทหารฝรั่งเศสยืนเรียงหน้ากระดาน หลายสิบนาย แต่ละคนอยู่ในท่าเตรียมยิงปืน เล็งไปที่ทหารไทยกลุ่มนั้น พอได้สัญญาณ ก็จึงยิงออกไปคนละหนึ่งนัด เรื่องน่าแปลกก็คือ "ปืนด้านทุกกระบอก" จากนั้นทหารฝรังเศสจึงขอลองอีก โดยยิงออกไปอีกคนละหนึ่งนัด   "ครั้งนี้ยิงออก" แต่ลูกปืนที่ยิงออกไปนั้นตกแค่ตีนเสื่อ ที่กลุ่มคณะทูตไทยนั่งเท่านั้น เรื่องนี้ฝรั่งเขาบันทึกเอาไว้ 

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  เจ้าเหนือหัว มักพระราชทานกริช แก่ข้าหลวงที่ทำความดีความชอบ ในราชสำนักอยุธยา หรือในโอกาศสำคัญๆ และยังนิยมพกพา หรือเหน็บกริชกัน ดังที่มีหลักฐานจากที่ฝรั่งเศสบันทึกไว้ในคราวที่  เจ้าพระยาโกษาธิบดีปาน  ราชทูตที่สมเด็จพระนารายณ์ ส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เจ้าพระยาโกษาธิบดี ก็เหน็บกริชชวาเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ด้วย


จ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ครั้งเป็นออกพระวิสุทธสุนทรราชทูต (ภาพวาดฝีมือชาวอังกฤษวาดเมื่อ พ.ศ. 2227)
 
ภาพนี้เขียนโดยชาวฝรั่งเศสบันทึกเหตการณ์ในวันที่ชาวไทยได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส  จากภาพค่อนข้างชัดเจนว่า เจ้าพระยาโกษาธิปดีเหน็บกริชชวาอย่างแน่แท้ เล่ากันว่าภาษาที่ใช้ในราชการของราชสำนักอยุธยาคือภาษาไทย ส่วนภาษาที่2 ที่นิยมใช้กันคือ ภาษามลายู  ฝรั่งฮอลันดาหรือวิลาศโปรตุเกศ ที่เข้ามาค้าขายก็สามารถใช้ภาษามลายู ได้เช่นกัน พระราชวงศ์ส่วนใหญ่ สามารถพูดภาษามลายู ในหลวงของเรา และพระราชวงศ์หลายพระองค์ก็สามารถใช้ภาษามลายูได้

การค้าขายกับทาง ชวา มลายู ทางใต้มีความสำคัญมาก  เนื่องด้วยมีเมืองท่าสำคัญๆของเราตั้งเรียงราย  อยู่เป็นลำดับ นำภาษีอากร ส่งเข้าท้องพระคลังหลวง มากมายมาตั้งแต่โบราณ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น