วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เจ้านางแว่นเเก้ว





 เจ้านางแว่นเเก้ว


เจ้านางผู้มี สิริโฉมอันงดงาม
พระวรกายแบบบาง
ดวงเนตรกลมโตแฝงไว้ด้วยความเศร้า
ราวกับเก็บซ่อนความรู้สึก อะไรบางอย่างไว้ในใจ

เจ้านางเป็นธิดาในรุ่นสุดท้าย
ของเมืองเชียงตุง
ที่ต้องเสียสละ แต่งงานกับเจ้าต่างเมือง
เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ระหว่าง รัฐ
ให้แน่นแฟ้นเป็นปึกแผ่นตามธรรมเนียม
ที่ถือปฎิบัติมาหลายร้อยปี
แต่ ครานั้นเป็นช่วงเวลาที่
เจ้าอาณานิคมอังกฤษ
เริ่มเข้ามามีบทบาท ใน เมืองเชียงตุง
และ ความคิดแบบอังกฤษ ถูกสอนผ่าน
โรงเรียนคอนแวนท์ ก็กล่อมเกลานิสัย
และ รสนิยมการใช้ชีวิตแบบชาวยุโรป
ให้ผู้หญิงที่มีการศึกษา มีความมั่นอกมั่นใจในตัวเอง ขัดแย้งกับ วิถีชีวิตในอดีตที่ เจ้านาง
เป็นเพียงตัวหมาก ในการเชื่อมสายสำพันธ์ระหว่างรัฐเป็นอย่างยิ่ง

..เจ้านางแว่นแก้ว
เป็นธิดาเจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินเเถลง
แห่งเชียงตุงองค์ที่ 6
ประสูติแต่ เจ้านางบัวทิพย์หลวง
โดย เจ้าแว่นแก้วมีพี่น้องร่วมมารดา 5 คน ได้แก่
1. เจ้านางแว่นแก้ว ณ เชียงตุง
2. เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง
3. เจ้านางแว่นทิพ ณ เชียงตุง
4. เจ้าสิงห์ไชย ณ เชียงตุง
5. เจ้าแก้วเมืองมา ณ เชียงตุง

เจ้านางเป็นพี่สาว คนโต
ของ เจ้านางเเว่นทิพย์แห่ง เเสนหวี
และ เจ้านางสุคันธา แห่ง เชียงใหม่
สามอนงค์ผู้งดงาม
ดั่งกุหลาบแรกแย้มแห่ง เขมรัฐเชียงตุง

ที่เจ้าพ่อขีดเส้นทางชีวิตให้
เสกสมรสกับเจ้าเมืองต่างๆใน รัฐฉาน
การสมรสของทั้งสามเจ้านาง
ไม่ได้เกิดจากความรัก แต่หากเกิดจาก
การเมืองระหว่าง รัฐ

..เจ้านางสามพี่น้อง ใช้ชีวิตอย่างเปี่ยมสุข
ในคุ้มหลวงเชียงตุง ตราบจนกระทั่งวัยสาว
ความงามขจรขจายเลื่องลือ
ไปถึงเจ้าฟ้าต่างเมือง

เจ้าแว่นแก้วพี่สาวคนโต
จึง ถูกสู่ขอเป็นคนแรก
เมื่ออายุ15 ชันษา
เจ้าพ่อ จึงบังคับให้ เจ้าแว่นแก้วแต่งงาน
กับ เจ้าขุนส่า เจ้าฟ้าเมืองล้อคจ้อค
ครานั้น เจ้านางแว่นแก้วผู้งดงาม
เศร้าสร้อยหนักหนา
เจ้านางเอาแต่นั่งร้องไห้ร้องห่ม
เป็นเวลาหลายวัน
เหตุเพราะต้องแต่งงานออกเรือน
ไปอยู่ต่างเมือง
กับเจ้าบ่าวที่ตนเองก็ไม่เคยรัก
ไม่เห็นหน้าค่าตา
และ ไม่มีโอกาสได้รู้จักกับชายอื่นเลย
เจ้านางถูกจับคลุมถุงชน
ตั้งแต่วัยสาวแรกแย้ม...
เจ้าฟ้า เจ้านางชาวไต
รัฐฉานเกี่ยวดอง นับญาติกันหลายชั้น
ด้วยการแต่งงานข้ามเมือง
และ การมีภรรยาหลายคน
เป็นเรื่องที่ยอมรับนับถือกันได้
ส่วน นามสกุลไม่ใช่เรื่องจำเป็นใดๆ
เจ้าชาวไต ปฏิบัติต่อ เหล่าพวกเจ้าชาวไต
ด้วยกันอย่างมี ไมตรีจิต
เพราะ ทุกคนก็ล้วนแต่เป็น
ญาติพี่น้อง ด้วยกันทั้งนั้น

เจ้าขุนส่า เจ้าฟ้าเมืองล๊อกจ๊อก
ผู้ที่สู่ขอ เจ้านางแว่นแก้วนั้น

เป็นเจ้าฟ้าที่มีรูปร่างแคระแกรน
ไม่สง่างาม ดังเจ้าชายใน นวนิยายแสนหวาน
ซึ่งทุกคนเชื่อว่า เพราะ
ตกจากหลังช้าง
เมื่ออายุได้ ๑๐ ชันษานั่นเอง
เจ้าพ่อของท่าน
รู้สึกผิดมาตลอด จึงจัดให้บุตรชาย
สมรสกับ
เจ้านางที่มีฐานันดรสูงสุด
ซึ่งก็คือเจ้านางแว่นแก้ว
ที่มีหน้าตางดงาม และ เป็นถึงธิดา
เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง

เจ้านางแว่นแก้ว จึงเป็น มหาเทวีเจ้า
ตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี
และได้ให้กำเนิดราชบุตรราชธิดา
สืบสายตระกูลให้เจ้าฟ้าเมืองล็อกจ็อก
รวม6 องค์ดังนี้
เจ้านางนุช(ยุ้นท์จี่-แอ็กเนส ซา ต่อมาได้เป็นมหาเทวีเมืองไหย)
เจ้านางหอมนวล(ออเดร์ย ซา)
เจ้านางนวลอู๋(แนลลี่ ซา)
เจ้านางจ๋ามเขียว(แลง -จินนี่ ซา)
เจ้าอ๋องคำ (เดสมอนท์ ซา)
เจ้าจายเล็ก(เจ้าคำส่า-เค็นริก ซา)
เจ้านางร่วมบริหารบ้านเมือง กับเจ้าฟ้าล้อคจ้อค
ได้อย่างสง่างามสมดัง ขัตติยนารี
ผู้ดำรงตำแหน่งมหาเทวีเจ้า

กาลต่อมา
ก่อนวันหมั้น และ อภิเษก
เจ้านางนุช ธิดาองค์โตของ
เจ้าฟ้าขุนส่าแห่งเมืองล๊อกจ๊อก

สิ่งที่ไม่คาดคิดก็ได้บังเกิดขึ้น
มหาเทวีแว่นแก้ว พระมารดา
ได้ทรงทำอัตนิวิบาตกรรม
ด้วยการใช้ปืนยิงตัวตาย
เพื่อหนีจากอาการป่วย
ด้วยโรคกระวนกระวายใจ
จนไม่สามารถควบคุมตนเองได้
ขณะที่กำลังเข้าไป สรงน้ำ
มหาเทวีแว่นแก้ว
ก่อนหน้านั้นได้มีอาการป่วยด้วย โรควิตกจริต
หลังจากที่รู้ว่าเจ้าฟ้าเมืองไตทั้งหลาย
ยอมรับอำนาจการอยู่ร่วมกับพม่า
ภายใต้ชื่อสนธิสัญญาปางโหลง
ตั้งแต่ที่มีการรับรองการประชุม
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490
จนกระทั่งถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
นับเป็นระยะเวลา 3 เดือน แล้ว
ที่พระมารดามหาเทวีป่วย
และ ทวีความรุนแรงมากขึ้น
โดยความจริงแล้ว
พระมารดาของเจ้านางทรงมีอารมณ์แจ่มใส
และทรงเป็นมิตรกับทุกคน
จนได้รับการยอมรับจากประชาชนว่า
เป็น เจ้าแม่เมืองที่อยู่ในใจชาวล๊อกจ๊อก
และ ข้าหลวงอังกฤษที่ตองจี ตลอดกาล

อาการซึมเศร้า ที่ทำให้เกิดเรื่องไม่คาดฝันนี้
อาจจะเกิดเพราะ สภาพเมืองล้อคจ้อคเวลานั้น
ที่มีการสงครามภายใน
และ การเข้ามาของรัฐบาลทหารพม่า
ที่ควบคุม บีบคั้น ยกเลิกระบอบเจ้าฟ้า
ที่เจ้าฟ้าเจ้านางรัฐฉานทุกพระองค์ต้อง
รับสภาพการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันทุกคน

หลังจากที่มหาเทวีอันเป็นที่รักได้จากไป
เจ้าขุนส่า ตกอยู่ในความเศร้าโศกถึง ๑๑ ปี
เมื่อพระองค์มีอายุ ๖๔ ชันษา
ก็สมรสใหม่อีกครั้งหนึ่ง กับ เจ้าขิ่นเล
ชายาของ เจ้าทุนเอ
หญิงไตที่งดงามมาก มีผิวละเอียดดังกลีบบัว
ดวงตาอ่อนโยน กิริยา นุ่มนวลอ่อนหวาน
และ ต่อมา มีบุตรชายฝาแฝด ด้วยกันสองคน

ขอบคุณเรื่องราวบางส่วนจาก
A Sawbwa Dies by Mimikhaing
Orignally published in The Antioch Review, Fall 1962แปลโดยสุทธิศักดิ์ แต้มลิค
จากเพจ สายเครือไต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น