วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์

 


ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์  หรือประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลี เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา โดยเฉพาะที่เทศบาลตำบลจอมทองนั้นได้จัดขึ้นทุกวันที่ 15 เดือนเมษายน เป็นประจำทุกปี โดยเราจะเห็นขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของหมู่บ้านต่างๆ  พร้อมด้วยผู้ศรัทธาจำนวนมากในเขตเทศบาล ร่วมแห่ไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อนำไปยังวัดพระธาตุศรีจอมทอง

ประวัติความเป็นมา

คำว่า”สะหลี” เป็นภาษาพื้นเมืองมาจากคำว่า”ศรี” ประวัติควาเป็นมาขอไม้ค้ำสะหลี หรือ ไม้ค้ำโพธิ์ มีเรืองเล่าว่าสมัยเมื่อ ครูบาปุ๊ด หรือ ครูบาพุทธิมาวังโส เจ้าอาวาสองค์ที่ 14 วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร นั้น ยามเดือนแปดเหนือ (เดือนพฤษภาคม) พ.ศ. 2314 ได้เกิดลมพายุใหญ่พัดเอากิ่งไม้สะหลี (ต้นโพธิ์) ภายในวัดหักลงมา รุ่งเช้าครูบาจึงให้พระภิกษุ สามเณร และ เด็กวัดช่วยกันเก็บกวาดกิ่งไม้หักไปไว้นอกวัด

 ยามนั้นครูบาพุทธิมาวังโส หรือ ครูบาปุ๊ด เจ้าอาวาสให้นึกตกใจกลัวยิ่งนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่สมัย เจ้าอาวาสองค์ก่อนๆ ไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเลย ครูบาปุ๊ดคิดอย่างนั้นทำให้เครียดหนักขึ้น ตกตอนกลางคืน ครูบาปุ๊ดเข้าจำวัด และ ก็เกิดนิมิตขึ้นว่า มีเทวดามาบอกว่าที่เกิดเหตุอาเพศลมพัดกิ่งไม้สะหลีหัก นั้น เป็น เพราะ ครูบาปุ๊ด ไม่ได้ตั้งใจปฎิบัติธรรมโดยเคร่งครัด จวบจนล่วงเวลาได้ ๒ เดือนก็ได้บรรลุธรรม อภิญญาณ สารถย่นย่อแผ่นดินได้ โดยมีเรื่องเล่าว่า ครูบาปุ๊ดไปบิณฑบาตรที่อำเภอแม่แจ่ม แล้วกลับมา ฉันข้าวทีวัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ในเช้าวันนั้นเอง 

โดยมีพยานหลักฐานเป็นเรืองเล่าว่า มีพ่อค้าวัวต่างถิ่น เป็นชาวแม่แจ่มสมัยโน้น ได้มาซื้อข้าวของ ค้าขาย แลกเกลือที่อำเภอจอมทอง เพื่อกลับไปขายยังอำเภอแม่แจ่ม ได้พบครูบา ปุ๊ด เดินโผล่ออกมาจากป่า บริเวณบ้านหัวเสือพระบาท (หมู่บ้านเชิงดอยทางทิศตะวันตกของ อำเภอ จอมทองประมาณ 7 กิโลเมตร) พวกเขาหุงข้าวเสร็จ พอเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งเดินมา จึงนิมนต์รับบิณฑบาตและ ได้ถามว่า “ท่านไปบิณฑบาตที่ไหนมาในป่าอย่างนี้”    พระท่านได้ตอบว่า “ ไปบิณฑบาตแม่แจ่มมา ”  พ่อค้าวัวถามตอว่า  “บ้านอะไรหรือครับท่าน” พระตอบว่า “บ้านสันหนองนะโยม”

พระท่านได้เปิดฝาบาตรเพื่อให้พ่อค้าวัวต่าง ทำบุญใส่บาตร และทันใดนั้นพ่อค้าก็ได้เห็นข้าว ในบาตรพระ เป็นสีดำๆด่างๆ ก็รู้ว่าเป็นข้าวชั้นดี ซึ่งสมัยนั้นมีปลูกกันมากที่แม่แจ่มเท่านั้น ก็เข้าใจว่าคงจะเป็นบ้านเรา กระมัง พ่อค้าได้ถามพระครูบาอีกว่า “ คนลักษณะใดใส่บาตรครูบาขอรับ”  พระท่านก็ตอบว่า “ เป็นผู้หญิงคอออม ( ออม หมายถึง พอง ปูด โปน ออกมา ) พ่อค้าเอะใจ แต่ก็ไม่ได้พูดว่ากะไร หลังจากซื้อขายข้าวของเสร็จแล้วพ่อค้าก็เดินทางกลับบ้านแม่แจ่ม  

ครั้นเมื่อถึงบ้านจึงได้ถามภรรยาว่า”ได้เคยใส่บาตรพระบ้างไหม”

ภรรยาตอบว่า” เคยใส่บาตรพระเดินออกมาจากป่า”

            พ่อค้าถาม “แล้วเอาอะไรละ”

ภรรยาตอบว่า “ เอาข้าวกล่ำใส่” (ข้าวหอมชนิดหนึ่งชาวบบ้านนิยมปลูกไว้ ทำขนมไปทำบุญที่วัด)

            พ่อค้าถาม “ แล้ววันไหน พระเป็นคนเช่นใดล่ะ”

ภรรยาได้ตอบคำถาม ซึ่งตรงกับเป็นพระองค์เดียวกันกับพระที่พ่อค้าได้ใสบาตรในเช้าวันเดียวกันที่บ้านหัวเสือพระบาท อำเภอจอมทอง จึงได้รู้ว่า พระองค์นี้มีบุญบารมียิ่งนัก

พอท่านครูบาปุ๊ดได้ธรรมอภิญญาณแล้วก็มีสติปัญญาเกิดขึ้นตามลำดับ จึบได้วางแผนไว้ในใจ ในปีนี้พอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านตางมาทำบุญฟังเทศน์ที่วัดมากมาย ท่านจึงได้บอกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่ไม้สะหลีหัก ที่ประชุมจึงตกลงไว้ว่า ปีต่อไปประมาณเดือน ๗ (เดือนเมษายน) ให้ชาวบ้านไปตัดง่ามมาช่วยกันค้ำกิ่งต้นไม้สะหลีเอาไว้กันลมพัดหักโค่นใน พ.ศ. ๒๓๑๕ นั้นเอง

 

ต่อมาครูบาปุ๊ด และชาวบ้านได้กำหนดให้มีประเพณีการทำบุญแห่ไม้ค้ำโพธิ์ หรือไม้ค้ำนะหลี ทุกปีในเดือน 7 เหนือ หรือ เดือน เมษายน ซึ่งมีประเพณีดังนี้

วันที่ 13 เมษายน        เป็นวันสังขารล่องให้ชำระจิตใจ และ บ้านเรือนให้สะอาด
วันที่ 14 เมษายน        เป็นวันเนาว์ หรือ วันเน่า ห้ามพูดคำไม่ดี ไม่เป็นสิริมงคล ถือเป็นวันดา หรือวันเตรียม งานด้วยมีการขนทรายเข้าวัด
วันที่ 15 เมษายน เป็นวันพญาวัน เป็นวันยิ่งใหญ่ กว่าวันใดๆมีการทำบุญใหญ่ เป็นวันแห่ไม้ค้ำสะหลี (แห่ไม้ค้ำโพธิ์ ) ซึ่งชาวจอมทองไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต่างก็จะพากันกลับบ้านมารดน้ำดำหัวบุพพการี และ รวมแห่ไม้ค้ำสะหลีกันอย่างเนืองแน่น ถือเป็นประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์แหงแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่สืบทอดกันมาช้า นานนับสองร้อยกว่าปีมาแล้ว
วันที่ 16 เมษายน เป็นวันปากปี ถือเป็นวันเริมศักราชใหม่ของชาวพื้นเมืองเหนือล้านนา


ภาพขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จอมทอง ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบ อายุภาพประมาณ 70 ปีก่อน ถ่ายบริเวณเนินโค้งก่อนถึงวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร หรือ บริเวณธนาคารกรุงเทพ ในปัจจุบัน ในภาพเป็นขบวน ของ บ้านเด่น สภาพสังคม วิถีชีวิตในอดีตของชุมชนเวลานั้นบ้านเรือน ยังเป็นบ้านไม้ล้านนา

ประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือประเพณีปีใหม่เมือง หรือประเพณีวันสงกรานต์  ถือเป็นวันทำบุญ ครั้งใหญ่ของชาวล้านนาการทำบุญที่วัด และให้บรรดาญาติผู้ใหญ่ตลอดจนถึงบรรพชนที่ลุล่วงลับดับขันธ์ไปนอกจากนี้ ครูบาปุ๊ดยังได้อบรมสั่งสอนให้ชาวบ้าน ถึง กุศโลบายการจัดประเพณีนี้โดยได้อานิสงค์หลายอย่างเช่น

1.      เป็นการค้ำไม้สะหลี(ต้นโพธิ์) ไมให้หักโค่นลงมา

2.      เป็นการสืบชะตาวัด หมู่บ้านปละชาวเองให้เป็นสิริมคลอยู่ร่มเย็นเป็นสุข

3.      เป็นการค้ำจุนสืบทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนานตลอด ถึง 5,000  พระวสา

4.      เป็นรื่นเริงในหน้าแล้งซึ่งอากาศร้อนมากโดยมีพิธีรดน้ำดำหัว พักผ่อนในยามว่างานจากนั้นบรรดาเครือญาติจากที่ต่างๆ จะมารวมตัวพบปะสังสรรค์กัน ถือวาเป็นวันครอบครัวของชาวล้านนาจอมทองอีกด้วย

สำหรับผู้ที่เล่าสืบต่อมา คือ ครูบามหาวัน เจ้าอาวาสองค์ที่ 15 ซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรน้อยอายุ ประมาณ 10 -11 ขวบ อยู่ในเหตุการณ์ด้วยครูบายะ หรือ ครูบาพุทธศาสตร์ สุประดิษฐ์ เจ้าอาวาสองค์ที่ 16 ผู้สร้างกุฎิไม้หลังใหญ่(โฮงหลวง) ตุ๊พ่อตั๋น สังวโร พระเถระผู้ใหญ่สมัยทานพระครูสุวิทยธรรม เจ้าอาวาสองค์ที่ 17

พ่อหนานศรีทน ยศถามี มัคยนายก วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ยังได้เล่าอีกว่าตอนนั้นนอกจากกิ่งไม้สะหลีได้หักโค่นลงมาแล้ว ยังเกิดเหตุพระธาตุจอมทองได้หายจากผอบทองคำในมณฑปอีกด้วย ซึงต่อมาก็ได้เสด็จกลับมาประดิษฐานยังมณพป หรือ ประสาทชมปูดังเดิม

 





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น